บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

นิพพานเป็นอนัตตากับสุชีพ ปุญญานุภาพ[02]


ในบันทึก นิพพานเป็นอนัตตากับสุชีพ ปุญญานุภาพ[01]”  ผมได้ยกตัวอย่างการตอบคำถามซึ่งมีผู้ถามถึงประเด็นเกี่ยวกับความหมายของคำ ว่า อนัตตา”  ซึ่งคุณสุชีพตอบว่า

การแปลอนัตตาว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน หรือไม่ใช่ตนก็แล้วแต่ เป็นการแปลเพื่อให้เห็นการปฏิวัติของพระพุทธศาสนาต่อความเชื่อถือดั้งเดิม ของพราหมณ์ ที่ถือว่า มีตัวยืนที่เรียกว่าอัตตาหรืออาตมัน เป็นตัวเที่ยงยั่งยืน เวียนว่ายตายเกิดอยู่ 

ส่วนชีวิตร่างกาย และชาติ เปรียบเหมือนเสื้อผ้าที่เปลี่ยนได้ แต่ตัวตนเป็นตัวหลักคงอยู่ พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้คลายความติด หรือความยึดในอัตตานั้น

การตอบของคุณสุชีพนั้น ขาดมาตรฐานของการเป็นนักวิชาการอย่างไม่น่าให้อภัย เพราะ คำว่า อนัตตานั้น ใน อนัตตลักขณสูตรแปลว่า ไม่ใช่ตัวตนของเรา”  แสดงว่า ตัวตนของเรามี 

อนัตตาจะแปลเป็น ไม่มีตัวตนไม่ได้อย่างเด็ดขาด  

หลักฐานนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า นิพพานไม่สามารถเป็นอนัตตาได้  เพราะ ความหมายของอนัตตาไม่สามารถแสดงภาวะของนิพพานได้

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ผมพยายามถามและศึกษามาหนักหนาว่า “นิพพานเป็นอนัตตาอย่างไร”  ไม่เห็นมีนักวิชาการหน้าหนา หน้าบางคนไหนอธิบายได้สักคน  มีแต่หลับหลับตาเขียนเหมือนคนปัญญาอ่อนว่า

นิพพานเป็นอนัตตา

ในบันทึกนี้ ผมจะให้หลักฐานเพิ่มเติมว่า การให้นิพพานเป็นอนัตตาของพุทธวิชาการนั้น  เป็นการอธิบายพระไตรปิฎกอย่างมั่วนิ่มที่สุด อย่างไม่น่าเป็นนักวิชาการเลย ว่าอย่างนั้นเถอะ

มีผู้ถามคุณสุชีพไว้ในหนังสือ คำถาม คำตอบ: ปัญหาทางพระพุทธศาสนา เล่ม 3ว่า

ถ้าพระนิพพานมีลักษณะมั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลง ก็น่าจะเป็นอัตตามิใช่หรือ? ขอคำอธิบาย

คุณสุชีพตอบว่า

ถ้ากล่าวตามหลักพระพุทธศาสนา พระนิพพาน มีลักษณะเป็นนิจจัง (เที่ยง) สุข (เป็นสุข) แต่เป็นอนัตตา (มิใช่ตัวตน)

ที่ว่าพระนิพพานเป็นอนัตตาก็เพราะมีพระพุทธภาษิตว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา (ธัมมนิยามสูตร)

คำ ว่าธรรม ทรงไขความไว้ในอัคคัปสาทสูตร (21/34/44) ว่า มี 2 อย่าง คือ ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) กับธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง (อสังขตธรรม)  วิราคธรรมเป็นเลิศ ทรงไขความวิราคธรรม (ธรรม คือความปราศจากความติดความยึด)  ว่าได้แก่ นิโรธ นิพพาน

เมื่อทรงไข ความไว้เองว่า นิโรธ และนิพพานจัดเป็นยอดของสังขตธรรม และอสังขตธรรม และตรัสอีกว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา (มิใช่ตัวตน)  จึงเป็นอันทรงชี้ว่า พระนิพพานเป็นอนัตตา

ในหนังสือ คำถาม คำตอบ: ปัญหาทางพระพุทธศาสนา เล่ม 3เล่มเดียวกันนี้ มีคนถามคุณสุชีพในปัญญาที่คล้ายกันว่า

คำว่า สัพเพ สังขารา อนัตตา สังขารทั้งปวงเป็นอนัตตา น่าจะกล่าวได้ แต่ทำไมท่านจึงกล่าวว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา  ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา?

คุณสุชีพก็ตอบคล้ายๆ กับการตอบคำถามข้างบน ดังนี้ 

การที่ท่านกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ก็ด้วยต้องการจะให้ครอบคลุมหมดทั้งสังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง) และวิสังขาร (สิ่งที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง ได้แก่นิพพาน)

ถ้าจะกล่าว ว่า สังขารทั้งปวงเป็นอนัตตาก็กล่าวได้ แต่จะหมายความแคบกว่าคำว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ซึ่งหมายถึงว่า แม้พระนิพพานก็เป็นอนัตตา คือมิใช่ตัวตนด้วย

รวมความว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา แต่ในข้ออนัตตานี้ แม้สิ่งที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งซึ่งเป็นวิสังขาร หรืออสังขตธรรมก็เป็นอนัตตาด้วย จึงควรใช้คำว่าที่ครอบคลุมทั้งหมด คือคำว่า ธรรม ดังที่ท่านกล่าวว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

ในบันทึกนี้ จะวิพากษ์ข้อเขียนของคุณสุชีพไปทีละส่วนเลย ดังนี้

ปัญหาที่เกิดจากคำตอบของคุณสุชีพ 1

คำตอบของคุณสุชีพ ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนแรกเลย มีดังนี้

ถ้ากล่าวตามหลักพระพุทธศาสนา พระนิพพาน มีลักษณะเป็นนิจจัง (เที่ยง) สุข (เป็นสุข) แต่เป็นอนัตตา (มิใช่ตัวตน)

คำตอบดังกล่าวของคุณสุชีพนั้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า คุณสุชีพไม่เชื่อในพระไตรปิฎกทั้งหมด คุณสุชีพไม่มีความแน่ใจในพระไตรปิฎกเสียแล้ว

ขอให้ผู้อ่านดูคำศัพท์ทั้ง 9 คำ ดังนี้

คุณศัพท์
นาม
คุณศัพท์
นิจจัง
นิจจตา
อนิจจัง
สุขัง
สุขขตา
ทุกขัง
อัตตา
อัตตตา
อนัตตา

หน้าที่ของคำคุณศัพท์ในที่นี้ก็คือ บรรยายสภาพของประธานว่าเป็นอย่างไร  คำว่า

นิจจัง ตรงข้ามกับ อนิจจัง
สุขัง ตรงข้ามกับ ทุกขัง
อัตตา ตรงข้ามกับ อนัตตา

เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน  แล้วนิพพานจะเป็น นิจจัง/สุขัง/อนัตตา ไปได้อย่างไร

เท่าที่ศึกษามาทั้งหมด พุทธวิชาการจะอธิบายอยู่แค่นี้ คือ ท่องเหมือนคนปัญญาอ่อนว่า นิพพานเป็นอนัตตา หรือ นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อนัตตา  แต่ไม่เคยบรรยายเลยว่า เป็นอย่างไร

ไม่มีหนังสือจากพุทธวิชาการเล่มใดอธิบายว่า  นิพพานเป็นอนัตตาอย่างไร

แต่ในทำนองกลับกัน  พุทธปฏิบัติธรรมอธิบายสภาวะของนิพพานด้วยข้อความของพระไตรปิฎกได้อย่างง่ายๆ 

พุทธวิชาการก็ไม่เคยยกข้อความดังกล่าวมาอธิบายหรือชี้แจงให้เห็นว่า สภาวะนิพพานในพระไตรปิฎกที่พุทธปฏิบัติยกมายืนยันความมีอยู่นิพพานนั้น มีข้อบกพร่องอย่างไร

ทำราวกับว่า ไม่มีข้อความในส่วนนั้นๆ ในพระไตรปิฎก

สิ่งที่น่าจะตั้งขอสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ สภาวะที่เป็นสุข เป็นทุกข์นั้น ต้องมีประธาน เช่น คน เป็นต้น 

คำว่า พระนิพพานมีลักษณะเป็นนิจจัง (เที่ยง) สุข (เป็นสุข) แต่เป็นอนัตตา (มิใช่ตัวตน) นั้น  พุทธวิชาการก็ไม่อธิบายเลยว่า อะไร ล่ะที่เป็นสุข อะไรล่ะที่เที่ยง อะไรล่ะที่แปรปรวน

ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ พระนิพพานในความหมายของพุทธวิชาการคืออะไร

ในทางวิชาธรรมกาย คำที่เกี่ยวพันกับนิพพานมีดังนี้คือ

พระนิพพาน หมายถึง พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า
อายตนะนิพพาน หมายถึง ที่อยู่ของพระนิพพาน
นิพพาน หมายถึง คำเรียกรวม พระนิพพานกับอายตนนิพพาน 

คำว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา นั้น  พุทธปฏิบัติหมายถึงว่า พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระปัจจเจกพุทธเจ้ามีสภาวะที่เป็นคงที่/นิจจัง เป็นสุข/สุขัง คงที่/อัตตา ตลอดไป  ความหมายนี้เป็นความหมายตรงตัว

ถ้ากล่าวว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตาที่หมายถึงอายตนะนิพพานว่า คงที่/นิจจัง เป็นสุข/สุขัง คงที่/อัตตา ตลอดไป ความหมายนี้เป็นความหมายโดยนัย

ปัญหาที่เกิดจากคำตอบของคุณสุชีพ 2

ที่ว่าพระนิพพานเป็นอนัตตาก็เพราะมีพระพุทธภาษิตว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา (ธัมมนิยามสูตร)

คำว่าธรรม ทรงไขความไว้ในอัคคัปสาทสูตร (21/34/44) ว่า มี 2 อย่าง คือ ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) กับธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง (อสังขตธรรม)

วิราคธรรมเป็นเลิศ ทรงไขความวิราคธรรม (ธรรม คือความปราศจากความติดความยึด)  ว่าได้แก่ นิโรธ นิพพาน

เมื่อทรงไขความไว้เองว่า นิโรธ และนิพพานจัดเป็นยอดของสังขตธรรม และอสังขตธรรม และตรัสอีกว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา (มิใช่ตัวตน)  จึงเป็นอันทรงชี้ว่า พระนิพพานเป็นอนัตตา

คำตอบตรงนี้ของคุณสุชีพ  ผมในฐานะนักภาษาศาสตร์ ยืนยันได้อย่างมั่นใจว่า มั่วสุดๆ 

พระพุทธองค์ไม่ได้ ทรงไขความ  คุณสุชีพอธิบายมั่วไปเอง  ในทางภาษาศาสตร์แล้ว จะไปดึงความหมายมาใช้อย่างนี้ไม่ได้

เป็นการตีความที่ มั่วแบบตัวจริงเสียงจริง

ในการพิจารณาความหมายของคำใดๆ ต้องพิจารณาเฉพาะที่อยู่ใน บริบท” (context) นั้นๆ

ถ้าเป็นพระไตรปิฎกก็ต้องดูเฉพาะในพระสูตรนั้นๆ ก่อน  พระสูตรก็ต้องพิจารณาเป็นพระสูตรๆ ไปว่า  จะนำมาใช้ได้หรือไม่

ไม่ใช่เห็นว่า พระสูตรหนึ่ง  มีความหมายพอที่จะตีความไปตาม ความเชื่อของตนได้ ก็ไปลากมาตีความแบบนี้  ผิดหลักภาษาศาสตร์ อย่างไม่รู้ว่าจะอธิบายอย่างไร

โดยสรุป

การที่พุทธวิชาการกล่าวว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อนัตตา ไม่ได้มีหลักฐานสนับสนุนจากพระไตรปิฏกแต่อย่างใด 

เป็นการอธิบายของพุทธวิชาการแบบมั่วๆ ที่ไม่ถูกหลักของภาษาศาสตร์

พุทธวิชาการ เชื่อไปตามวิทยาศาสตร์ว่า คนเราเป็นอุบัติการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง เกิดมาแล้วก็ตายไป ไม่มีดวงวิญญาณ/ใจ/จิต ที่จะไปรับบาปบุญที่ทำไว้

การที่จะให้นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตาจะทำให้ขัดกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พุทธวิชาการจึงพยายามบิดเบือน หาคำอธิบายที่ดูแล้ว ดี”  ในความเชื่อของพุทธวิชาการด้วยกัน

คำอธิบายของพุทธวิชาการนั้น  ไม่มีมีหลักวิชาการใดๆ สนับสนุน  อธิบาย มั่วนิ่มไปตามความเชื่อของท่านเหล่านั้น

ในเมื่อพึ่งพิงอยู่กับศาสนา  เอาชีวิตรอดมาได้อย่างสุขสบายในชาตินี้ก็เพราะศาสนา  แต่มาทรยศต่อศาสนาเพราะไปเชื่อปรัชญากับวิทยาศาสตร์  เมื่อตายไปแล้ว จึงประสบกับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส

ก็เป็นการสมควรแล้ว...




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น