บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

รากศัพท์ของนิพพาน


นิพพานเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธศาสนิกชน” ข้อความดังกล่าว ก็ดูง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน  เมื่อนิพพานเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของเรา เรามุ่งหน้าไปนิพพานกัน ก็แค่นั้น ง่ายๆ ไม่เห็นจะยากเย็นอะไรเลย

แต่ในความเป็นจริง มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น  มันไม่ได้ง่ายอย่างนั้น 

ผมเองเป็นครูสอนวิชาภาษาไทย เรียนจบ ค.บ. วิชาเอกภาษาไทย วิชาโทภาษาอังกฤษ  เรียนจบปริญญาโทสาขาวิชาภาษาศาสตร์  สอนภาษาไทยมาเกือบตลอดชีวิต

ผมโต้แย้งถกเถียง และอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับนิพพานมาไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่  คุณผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่ว่า

ผมหาความหมายที่เป็น “รากศัพท์” ของนิพพานได้ยากมาก  

รากศัพท์ของ “นิพพาน” ดูราวกับว่าเป็นสิ่งที่ควรปกปิด ไม่ควรให้ใครรู้ใครเห็น  แม้กระทั่งในปัจจุบันก็ยังเป็นอย่างนั้นอยู่

ขอให้ผู้อ่านไปพิสูจน์เองว่า ในหนังสือที่เกี่ยวกับนิพพานนั้น มีหนังสือเล่มใดที่อธิบาย “รากศัพท์” ของนิพพานอย่างกระจ่างแจ้งบ้าง

เท่าที่อ่านหนังสือมาหลายร้อยหลายพันเล่ม ผมพบว่า มีเพียงเล่มหรือสองเล่มเท่านั้น ที่อธิบายความหมายที่เป็นรากศัพท์ของนิพพาน

วิกีพิเดีย สารานุกรมเสรี ได้นำความหมายนั้นมาเผยแพร่ ไว้ดังนี้  

นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์

"นิพพาน" จากบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด

คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียก กิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

นี่คือ ความหมายตรงๆ จากรากศัพท์ของคำว่า “นิพพาน

นิ
วานะ
นิ+วานะ = นิพพาน
ออกไป หมดไป
พัดไป ร้อยรัด
ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด

ดังนั้น เมื่อพิจารณาเรื่องความหมายของนิพพานแล้ว ท่านผู้อ่านควรจะไตร่ตรองให้ดีว่า ควรจะเชื่อใคร เพราะ การแปลความหมายของ “นิพพาน” นั้น  มีหลายรูปแบบ

- แปลแบบหมกเม็ด
- แปลแบบมั่ว
- แปลแบบรักษาหน้า
- แปลแบบเพี้ยนๆ

ขอยกตัวอย่างจากคำค้นใน google ดังนี้


นิพพานคือ ความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ และสิ้นโมหะ ผู้บรรลุนิพพานถือว่าเป็นผู้สิ้นกิเลสอย่างสิ้นเชิงมีความหลุดพ้น เป็นอิสระ และมีความสุขอย่างแท้จริง 

ในระดับคนธรรมดาหากเข้าใจนิพพาน ก็สามารถที่จะดำเนินชีวิตที่ดีงามได้ และมีความสงบสุขได้เช่นกัน

ความหมายนี้ ถือว่าพอรับได้

ทันตแพทย์ สม สุจีรา ให้ความหมายของคำว่านิพพานไว้ในหนังสือ ไอน์สไตน์ พบ พระพุทธเจ้าเห็น (หน้า 46) ดังนี้

นิพพาน คือ ความว่างอย่างยิ่ง

ในธรรมชาติ แสงและเวลาทำให้มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ถ้าไม่มีแสงก็ไม่มีเวลา เพราะเวลาสัมพัทธ์กับแสง

แสงเป็นตัวต้นกำเนิดของเมแทบอลิซึมทั้งปวง เช่นทำให้เซลล์เราแก่ลง จึงเกิดเวลา เกิดอดีต อนาคต มีอนิจจัง ทุกขัง เกิดปฎิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา ฯลฯ



ความหมายนี้ เริ่มออกทะเลแล้ว  นิพพานจะไป “ว่างอย่างยิ่ง” ได้อย่างไร แล้วไปเกี่ยวกับแสงกับเวลาได้อย่างไรก็ไม่ทราบ

บ้านมหา ดอดคอม ได้ตอบกระทูที่ว่า นิพพานคืออะไร? ไว้ดังนี้

นิพพาน มีคำแปลได้หลายแบบ เช่น แปลว่า ความดับ คือ ดับกิเลส ดับทุกข์  แปลว่า ความพ้น คือ พ้นทุกข์พ้นจากภพสาม

นิพพาน โดยความหมาย หมายได้ ๒ นัยยะใหญ่ๆ คือ
๑.หมายถึง สภาพจิตที่หมดกิเลสแล้ว
๒.หมายถึง สถานที่ที่ผู้หมดกิเลสแล้ว ไปเสวยสุขอันเป็นอมตะอยู่ ณ ที่นั้นๆ

นิพพาน เป็นที่ซึ่งความทุกข์ทั้งหลายเข้าไปไม่ถึง อยู่พ้นกฎของไตรลักษณ์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีแก่ เจ็บ ตาย ทุกอย่างเป็นสุขัง เป็นนิจจัง เป็นอัตตา

เป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ เที่ยงแท้แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรม

มีพระพุทธพจน์ที่กล่าวถึงนิพพานไว้หลายครั้ง อาทิ นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ นิพพานสูญอย่างยิ่ง คือ สูญกิเลส สูญทุกข์ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานสุขอย่างยิ่ง

ทหารเมื่ออยู่ในหลุมหลบภัย ย่อมปลอดภัยจากอาวุธร้ายของศัตรูฉันใดผู้ที่มีใจจรดนิ่งอยู่ในพระนิพพาน ก็ย่อมปลอดภัยจากทุกข์ทั้งปวงฉันนั้น

ความหมายนี้ก็พอรับได้ แต่ปัญหาก็คือ ดูเหมือนว่า คนที่เขียนประเด็นเกี่ยวกับนิพพานนั้น ไม่ได้คำนึงถึงว่า “นิพพานที่ท่านเขียนถึงนั้น คืออะไร

คำที่เกี่ยวข้องกับศัพท์ว่า “นิพพาน” นั้นมี 3 คำในวิชาธรรมกายคือ
1) อายตนะนิพพาน
2) พระนิพพาน
3) นิพพาน

ดังนั้น ความหมายของนิพพานที่ยกไปเป็นตัวอย่างนั้น  ผู้เขียนจะรู้หรือไม่ว่า ท่านหมายถึงอะไร




7 ความคิดเห็น:

  1. ดร. เคยวิจารณ์การที่พุทธวิชาการ ชอบยกเอาพุทธพจน์ที่ว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตา" (ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา มาอ้าง ในการโจมตีวิชชาธรรมกาย หรือไม่ครับ (ผมหาแล้ว แต่ไม่เจอ)

    ประเด็นนี้ พระคึกฤทธิ์ แห่งสำนักพุทธวัจนะ ก็เคยออกมาบอกว่า "ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" นั้น หมายถึงเฉพาะสังขตธรรมเท่านั้น ส่วนอสังขตธรรม (นิพพาน) จะเป็นอนัตตาไม่ได้ แต่พระรูปดังกล่าวก็ไม่ได้ให้รายละเอียดในประเด็นนี้มากนัก

    ตอบลบ
  2. เขียนไปเยอะ แต่จำไม่ค่อยได้แล้ว

    พวกที่บอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" นั้น ส่วนใหญ่เชื่อตามพระธรรมปิฎก พวกเชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่า คิดว่าคนเกิดมาตามหลักวิทยาศาสตร์

    การเวียนตายเวียนเกิดไม่มี

    พอในพระไตรปิฎกมีข้อความเหล่านี้ ก็เลยใช้การตีความให้ผิดจากเดิม พวกนี้ เป็นสาวกมารทั้งนั้น


    ส่วนพระคึกฤทธิ์ แห่งสำนักพุทธวัจนะ นี่เพี้ยนไปอีกแบบหนึ่ง คือ ตีความพระไตรปิฎกตาม "ตัวกู" อย่างเดียว เลียนแบบพุทธทาส

    ท่านไม่รู้ภาษาบาลีด้วย นี่ก็เพี้่ยนไปอีกแบบ แต่ก็เป็นสาวกของมารเช่นเดียวกัน

    ตอบลบ
  3. ผมลองเล่นประเด็นนี้ดูบ้างแล้ว ว่างๆก็ไปอ่านได้ครับ

    ผู้ใดต้องการนิพพานสูญ ผู้นั้นจะได้สูญสมใจ
    sooynipphansooy.blogspot.com

    ตอบลบ
  4. อธิบายเนื้อหาเข้าไปด้วย แล้วจึงบอกแแหล่งอ้างอิง

    คนอ่านบล็อกมักจะไม่ค่อยตามลิงก์เท่าไหร่

    ควรมีคำอธิบายและเนือหาให้มาก ลอกมาก็ได้

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาคร่าวๆครับ

    "สายการปฏิบัติธรรมทุกสายในเมืองไทย ไม่ว่าธรรมกาย ยุบพอง พุทโธ นะมะพะธะ ต่างก็ยืนยันว่า “นิพพานไม่สูญ” “เคยเห็นพระพุทธเจ้าจากการนั่งสมาธิ”"
    "อย่างไรก็ดี การโต้เถียงของผมในบล็อกนี้ จะใช้การอ้างอิงพระปริยัติ มากกว่าการอิงจากผลการปฏิบัติธรรม"
    - จากบทความ "อ่านตรงนี้ก่อน"

    "การเลือกที่จะพิจารณาเฉพาะหลักธรรมที่ตนเห็นด้วย ไม่ยอมพิจารณาหลักธรรมที่ตนไม่เห็นด้วยนี้ เป็น “สันดาน” โดยทั่วไปของพวกนิพพานสูญ
    มีหลักธรรมตั้งมากมาย ที่ยืนยันว่า “สามารถเห็นพระพุทธเจ้าได้” แต่พวกนิพพานสูญนิยม กลับทำราวกับว่า “ไม่มี”
    - จากบทความ "การเห็นพระพุทธเจ้า"

    "อายตนะแปลว่าเชื่อมต่อ ดังนี้อายตนะจึงต้องมีสองประเภท คือ ภายในและภายนอก ควบคู่กันเสมอ จะมีแต่อายตนะภายในหรือภายนอกอย่างเดียวไม่ได้ หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ควรที่จะเรียกว่า “อายตนะ (เชื่อมต่อ)” (คำว่า อายตนะในนิพพานสูตรนั้น หมายถึง อายตนะภายนอกในนิพพาน ซึ่งถ้านิพพานมีอายตนะภายนอก อายตนะภายในก็ย่อมที่จะมีอยู่ในนิพพาน)"
    - จากบทความ "นิพพานมีแดนหรือไม่"

    "คำว่า ปรมัง สูญญัง แปลว่า “ว่างอย่างยิ่ง”
    ส่วนคำว่า “สูญสลาย” นั้น บาลีท่านว่า “สูญโญ”
    - จากบทความ "นิพพาน ปรมัง สูญญัง ไม่ใช่ นิพพาน ปรมัง สูญโญ"

    "ว่ากันตามเหตุผลนะ ถ้านิพพานเป็นอนัตตา (นิพพานไม่ใช่ตัวตนของเรา) แล้วเราจะพากเพียรปฏิบัติเพื่อให้บรรลุนิพพานไปทำไม ก็ในเมื่อนิพพานไม่ใช่ของเรา"
    - จากบทความ "ความหมายของอนัตตา"

    "พวกนิพพานสูญ ได้ทำสิ่งที่น่าเกลียด คือการเลือกที่จะพิจารณาเฉพาะข้อความที่ว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” แล้วละเลยที่จะไม่พิจารณาคำว่า “สังขารทั้งปวง” และคำว่า “ธาตุ”
    ในเมื่อเป็นเช่นนี้ “ธรรมทั้งปวง” ของพวกนิพพานสูญ จึงมีความหมายกว้างกว่า “สังขารทั้งปวง” และ “ธาตุ” พวกนี้เลยเชื่อว่า “ธรรมทุกข้อเป็นอนัตตาทั้งหมด รวมทั้งนิพพานด้วย” ซึ่งไม่ถูกต้อง"
    - จากบทความ "ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาจริงหรือ"

    "ความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ย่อมไปด้วยกันได้กับ ความทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่ใช่ตัวตนของเรา (อนัตตา) อย่างแยกกันไม่ออก
    ซึ่งนิพพานเป็นสุข แล้วนิพพานจะเป็นอนัตตาไปได้อย่างไร"
    - จากบทความ "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะแยกจากกันมิได้"

    "ถ้าแถมาว่า นิพพานแล้วไม่เหลือร่างกาย เหลือแต่อากาศกับความรู้สึก นั่นก็ถือว่าพวกนี้อธิบายขัดกับหลักการ “นิพพานสูญ” ที่พวกตนยึดถือ เพราะการอธิบายในลักษณะนั้น ก็เข้าข่าย “นิพพานเป็นอัตตา” อยู่ดี"
    - จากบทความ "ผมอยากรู้ว่า สภาพของนิพพาน ของพวกนิพพานเป็นอนัตตานั้น เป็นอย่างไร"

    "วิชาธรรมกาย อธิบายว่า มารสามารถเอาเหตุว่างมาหลอกเราได้ ใครที่ปฏิบัติไปจนพบเหตุว่าง คือ โลกธาตุแตกสลายหมดเหลืออยู่แต่ความว่างเปล่า จะได้แต่สบายใจอย่างเดียว ไม่สามารถใช้ปัญญาพิจารณาอะไรได้
    อาจารย์บางท่านพอตกเหตุว่างแล้ว ก็สำคัญว่านั่นคือนิพพาน อุทานว่า “สบายแล้ว ไม่ใช่ตัวกู ไม่ใช่ของกู ไม่ยึดบุญไม่ยึดบาป” ทั้งๆที่ความจริงแล้ว นั่นก็แค่ว่างเบื้องต้นเท่านั้น ถ้าไปถึง “สุดละเอียดของว่าง” เข้า ก็ไม่ทราบว่าท่านจะอุทานอย่างไร"
    - จากบทความ "เหตุว่าง"

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลงมือไม่ต้องลืมตาและไม่ต้องหลับตาเอาใจคุณๆทั้งหลายนี่งๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆนานๆๆๆๆไว้ที่ฐานของความเชื่อของคุณถ้าเป็นอิสลามก็นึกถึงจันทรเสี้ยวถ้าเป็นคริสก็นึกถึงไม้กางเขนมีข้อแม้ว่าอย่าให้นิวรณ์5คลอบงำเดี๋ยวทั้งหมดที่คุณค้นหาใันมาเองถ้าไม่มาเส้นทางเดินมีแต่อ่านชาติหน้าก็ไม่เห็น

      ลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ